===Not Click=== ===Not Click===

เหรียญหลวงพ่อทวด วัดช้างไห้ รุ่น 3 มีทั้งหมดกี่พิมพ์กันแน่!!!

เหรียญหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ ที่ท่านพระครูวิสัยโสภณ (อาจารย์ทิม ธมฺมธโร) เจ้าอาวาสวัดช้างให้ได้จัดสร้างขึ้นในขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่นั้นมีมากมายหลายรุ่นหลายพิมพ์ ในบรรดาเหรียญทั้งหมดที่ท่านอาจารย์ทิมสร้างนั้น ท่านสร้างเหรียญรุ่น 3 จำนวนมากที่สุดและมีพิมพ์มากที่สุด อีกทั้งเป็นเหรียญที่มีประสบการณ์มากมายที่สุดและเป็นที่ยอมรับในวงการพระเครื่องพระบูชาไทย ผู้เขียนมักถูกเพื่อนฝูงถามอยู่บ่อยครั้งว่า “รู้หรือไม่ว่าเหรียญรุ่น 3 มีกี่พิมพ์กันแน่” เจอคำถามนี้เข้าผู้เขียนก็จนปัญญาที่จะตอบได้ เนื่องจากยังไม่มีท่านผู้รู้หรือกูรูท่านใดบอกผู้เขียนมาก่อน จึงบอกไปว่า “ขอเวลาสักหน่อย จะรวบรวมมาให้ได้ให้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้” หลังจากนั้นผู้เขียนจึงได้ใช้ความพยายามเก็บรวบรวมภาพเป็นเวลานานนับปี และด้วยความอนุเคราะห์ของเพื่อนๆ จึงทำให้ได้ภาพมาโชว์ท่านผู้อ่าน ดังนั้นจึงขออนุญาตแบ่งแยก พิมพ์ของ “เหรียญรุ่น 3” พ.ศ.2504 ซึ่งเป็นเหรียญปั๊มทั้งหมด และผู้เขียนแยกไว้ได้ทั้งหมด 23 หมวดแม่พิมพ์ ในขณะนี้ (จริงๆ แล้วมีถึง 36 พิมพ์) แต่ผู้เขียนไม่สามารถหาชื่อที่เหมาะสมได้ว่าจะเรียกชื่อเป็นพิมพ์อะไรดี จึงขอจัดเป็นหมวดหมู่เดียวกัน เช่นหมวดพิมพ์หน้าผาก 2 เส้น รัดประคดข้างเดียว ด้านหน้าเหรียญมีถึง 3 แม่พิมพ์ หมวดพิมพ์ลึกลายกนกแท่นที่ด้านหลังเหรียญมี 2 แม่พิมพ์ และหมวดพิมพ์หน้าผาก 3 เส้น ด้านหน้าเหรียญมีถึง 4 แม่พิมพ์ เป็นต้น





ผู้เขียนเป็นคนภาคใต้มีพื้นเพอยู่ในจังหวัดสงขลา ตั้งแต่เล็กจนโตได้ยินเขาเรียกพระที่ท่านพระครูวิสัยโสภณ (อาจารย์ทิม ธมฺมธโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดช้างให้สร้างว่า “หลวงพ่อทวด” ไม่เคยได้ยินใครเรียกว่า “หลวงพ่อทวด” เพิ่งจะมาระยะหลังนี้เองที่คนภาคกลาง หรือนักสะสมพระรุ่นใหม่ๆ มาเรียกกันว่าหลวงพ่อทวด พระหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ที่ท่านอาจารย์ทิม ธมฺมธโรสร้างตั้งแต่ปีพ.ศ.2497 จนถึงปีพ.ศ.2512 ปรากฏว่ามีเพียงพระบูชาปีพ.ศ.2503 รุ่นเดียวเท่านั้นที่สลักไว้ทั้ง 2 แบบว่า “หลวงพ่อทวด” และ “หลวงพ่อทวด” นอกเหนือจากนั้นแล้วพระหลวงพ่อทวดทุกเนื้อทุกรุ่นทุกพิมพ์ทุกพ.ศ.ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ที่วัดช้างให้สร้าง หากมีตัวหนังสือจารึกหรือแกะสลักไว้จะมีแต่อักษรว่า “หลวงพ่อทวด”ทั้งสิ้น อีกทั้งเมื่อสร้างพระหลวงพ่อทวดขึ้นครั้งแรกเป็นเนื้อว่าน ปีพ.ศ.2497 นั้น ในนิมิตท่านอาจารย์ทิมได้ถามองค์สมเด็จหลวงพ่อทวดว่าจะให้เรียกพระที่สร้างใหม่นี้ว่าอย่างไร ท่านบอกให้เรียกว่า “สมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด”


จากข้อสันนิษฐานของผู้เขียนนั้น การที่มีคนเรียกท่านว่า “หลวงพ่อทวด” เนื่องมาจากทุกคนได้ทราบมาว่า “องค์สมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด” ท่านมีชีวิตอยู่สมัยอยุธยา หากนับอายุของหลวงพ่อทวดจนมาถึงปัจจุบันนี้แล้วท่านจะมีอายุหลายร้อยปี จึงใช้สามัญสำนึกเรียกผู้สูงวัยอายุเป็นร้อยปีด้วยความเคารพว่า “ปู่ทวด” เลยนำคำนี้มาเรียกหลวงพ่อทวด ว่าหลวงพ่อทวด แต่การเรียกเช่นนี้จะทำให้นักสะสมพระฯ สายหลวงพ่อทวดโดยตรง "งง" ทำให้เข้าใจผิดว่ามีพระสูงอายุอีกรูปหนึ่งชื่อ “ทวด” จึงเรียกท่านว่า “หลวงพ่อทวด” เหมือนกับที่เรียกหลวงปู่ทิม วัดนวลนรดิสวรวิหาร กทม. หลวงปู่ชู วัดนาคปรก กทม. หลวงปู่จันทร์ วัดศรีเทพ จ.นครพนม หรือหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ เป็นต้น จะทำให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญได้ว่า ท่านเป็นพระร่วมสมัยกับหลวงปู่ทั้งหลายที่ได้กล่าวถึงมาแล้ว ทั้งๆ ที่หลวงพ่อทวดท่านมีอายุมากกว่าหลายเท่านัก อีกอย่างหนึ่งคำๆ นี้เป็นภาษาใต้ท้องถิ่น เขาใช้เรียกผู้สูงอายุมากๆ ว่าทวด หากอายุมากเป็นร้อยๆปีเขาจะเรียกว่าพ่อทวด เมื่อท่านเป็นพระสงฆ์จึงเรียกท่านว่า “หลวงพ่อทวด” ดังนั้นเมื่อท่านทั้งหลายได้ทราบแล้วก็ขอความกรุณาเรียกขานท่านให้ถูกต้องด้วยว่า “หลวงพ่อทวด” ซึ่งมีพระอริยะสงฆ์เพียงรูปเดียวเท่านั้นในประเทศไทยที่ถูกเรียกขานเช่นนี้จากอดีตจวบจนปัจจุบันนี้ จะทำให้ไม่มีการเข้าใจผิดในสาระสำคัญอีกต่อไป

หมายเหตุ ที่นำมาเขียนเป็นลำดับๆ ต่อๆ ไปนี้ มิได้เรียงตามราคาหรือค่าความนิยม เพียงแต่จำแนกออกมาเป็นพิมพ์เท่านั้น ตามที่ผู้เขียนสอบถามผู้รู้หรือหาชื่อที่เหมาะสมได้แล้วเท่านั้น และที่ผู้เขียนเขียนบทความนี้ มิได้เป็นข้อสรุปถึงที่สุดของแบบพิมพ์เหรียญหลวงพ่อทวดรุ่น 3 พ.ศ.2504 ผู้เขียนสันนิษฐานว่าอาจจะมีมากกว่านี้อีก เนื่องจากเหรียญรุ่น 3 นี้เป็นเหรียญที่มีแม่พิมพ์มากที่สุดจำยากที่สุดด้วย เพราะโรงงานเอาแม่พิมพ์ด้านหลังของเหรียญมาสลับสับเปลี่ยนกัน จึงทำให้ปั๊มเหรียญพระหลวงพ่อทวดรุ่น 3 ออกมามีมากมายหลายพิมพ์ หากท่านผู้อ่านติดตามบทความของผู้เขียนไปจนจบและได้เห็นภาพจนหมดทุกพิมพ์ ท่านผู้อ่านจะเห็นได้ว่าเหรียญพระหลวงพ่อทวดรุ่น 3 ที่แยกออกมาเป็นพิมพ์ต่างๆ ดังกล่าว หลายเหรียญมีแบบพิมพ์ด้านหน้าเหมือนกันแต่ด้านหลังเหรียญมีแบบพิมพ์ไม่เหมือนกัน

 ผู้เขียนได้เขียนถึงเหรียญหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ รุ่น 3 ไปจนหมดแล้ว รวมทั้งหมด 23 พิมพ์ หากจะไม่กล่าวถึงพระคาถาที่แกะสลักอยู่ด้านหลังเหรียญหลวงพ่อทวดไว้บ้าง ก็คงจะขาดอะไรไปสักอย่างหนึ่งแน่ เปรียบเสมือนทานอาหารที่ไม่ได้ใส่น้ำปลา-น้ำตาล รสชาติคงกร่อยสิ้นดี พระคาถาที่อยู่ด้านหลังเหรียญด้านที่เป็นรูปเหมือนท่านอาจารย์ทิม ธมฺมธโร เช่นเหรียญรุ่น 2 ไข่ปลาใหญ่โดยเฉพาะพิมพ์ ไม้มลายและพิมพ์สายฝน (ด้านหลังมี 2 แม่พิมพ์ อีกพิมพ์หนึ่งเขียนพระคาถาแบบเหรียญรุ่น 3) อ่านได้ว่า “นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ” ซึ่งก็คือพระคาถายอดหัวใจ 108 พระคาถานี้เป็นหัวใจ ของหัวใจ 108 อีกทีหนึ่ง ไม่ว่าจะใช้พระคาถาบทใด ต้องเอาพระคาถาบทนี้แทรกด้วยทั้งสิ้น สุดแต่จะกล่าวอุปเท่ห์วิธีใช้ได้มากมากสุดจะพรรณนา สารพัดจะใช้เถิด จะปลุกเสกหรือจะทำการใดๆก็ดี ทั้งทางอยู่ยง ทางเมตตา ใช้ได้ทั้งนั้น ท่านเปรียบเสมือนยาดำที่เข้าแทรกยาทุกขนาน ฉะนั้นเมื่อจะใช้คาถาบทใดๆจะเป็นในทางใดก็ตาม ให้เอายอดพระคาถานี้กำกับไปด้วยเสมอไป จะเกิดความขลังเหมือนใจนึก (จากหนังสือ คู่มือชายชาตรี หน้า 60 โดยอาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ร้านศิลปาบรรณาคาร พ.ศ.2513) ส่วนพระคาถาที่แกะสลักอยู่ด้านหลังเหรียญหลวงพ่อทวดวัดช้างให้ รุ่น 3 แตกต่างจากเหรียญรุ่น 2 เล็กน้อย อ่านได้ว่า “นะโมพุทธายะ นะโมพะทะ จะภะกะสะ” เมื่อผู้เขียนไปค้นคว้าพร้อมทั้งได้ปรึกษากับคุณบัญชา แปลงงานและคุณภิยวัฒน์ วัฒนายากร มีความเห็นร่วมกันเป็น 2 แนวทาง แนวทางแรก วิเคราะห์ว่าเป็นไปได้หรือไม่ ที่เหรียญรุ่น 3 มีการเขียนพระคาถากำกับเหรียญมาผิดและที่น่าจะถูกต้องคือ “นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ” เหมือนเหรียญรุ่น 2 (ไข่ปลาใหญ่ ไม้มลาย) แนวทางที่สอง อาจเป็นการจงใจที่เขียนพระคาถากำกับเหรียญไว้เช่นนั้น  เพราะเมื่อถามผู้รู้ ท่านว่าพระคาถาแต่ละตัวมีวิธีเขียนได้หลายแบบ เช่นเขียนกลับไปกลับมา คือเขียนจากหน้าไปหลังหรือเขียนจากข้างหลังกลับมาข้างหน้าก็ได้ ตัวผู้เขียนเองก็ไม่ได้สันทัดในอักขระภาษาบาลี จึงมิกล้าที่จะไปฟันธงว่าเขียนผิด หากท่านผู้สร้างมีเจตนาหรือจงใจเขียนเป็นเช่นนั้น ก็จะทำให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญได้ อีกทั้งผู้เขียนเองก็มีข้อสงสัยว่า จะเป็นไปได้หรือที่มีการเขียนพระคาถาผิดทั้งหมด ทุกพิมพ์ทุกเหรียญในเหรียญรุ่น 3 โดยไม่ได้มีการแก้ไขเลย ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นมาแล้วในเหรียญรุ่น 2 เมื่อพบว่าผิดพลาดก็ให้แก้ไขทันที เช่น “วัดช้างไห้” เป็นไม้มลาย ก็ให้หยุดไม่ปั๊มเหรียญเพิ่ม สั่งให้ช่างแกะแม่พิมพ์ใหม่ “วัดช้างให้” เป็นไม้ม้วน ดังปรากฏให้เห็นมาแล้ว หากท่านใดมีหลักฐานหรือเหตุผลอื่นใดที่พอจะทำให้เชื่อได้ว่าแนวทางไหนถูกต้อง ขอได้โปรดเปิดเผยให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณะชน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่ออนุชนรุ่นต่อไปในอนาคตที่จะเข้ามาสะสมพระหลวงพ่อทวด วัดช้างให้

หมายเหตุ บทความของผู้เขียนนี้ มิได้เป็นข้อสรุปถึงที่สุดของแบบพิมพ์เหรียญหลวงพ่อทวดรุ่น 3 พ.ศ.2504  แต่เป็นการนำเสนอความคิดเห็นในมุมมองของผู้เขียนเท่านั้น ฉบับนี้ขอยุติไว้เพียงเท่านี้ก่อน พบกับพิมพ์อื่นในโอกาสต่อไปนะครับ ที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ อาจจะถูกหรือผิดก็ได้ ท่านผู้อ่านโปรดกรุณาเอาไปพิจารณากลั่นกรองแยกแยะอีกทีหนึ่ง และค้นคว้าเพิ่มเติมต่อไป สะสมพระต้องเล่นไปคิดไป อย่าเชื่อที่ผู้เขียนเขียนมาทั้งหมด ให้เชื่อในสิ่งที่ตนเองคิดอย่างมีเหตุและผล เราเป็นคนรุ่นใหม่ “อย่าไปเล่นพระแบบเขาเล่าว่า อย่าเล่นพระด้วยหู แต่จงเล่นพระด้วยตาโดยอิงหลักการทางวิทยาศาสตร์” หากข้อความข้างบนนี้มีประโยชน์อยู่บ้าง ผู้เขียนขอยกความดีทั้งหมดให้กับบิดา-มารดาของผู้เขียน และบ.ก.ธีรพิพัฒ สิงหศิริธรรมที่ท่านเปิดโอกาสให้ผู้เขียนได้เขียนข้อความที่ผู้เขียนค้นคว้ามา ยังมีอีกท่านหนึ่งที่ต้องขอขอบคุณอย่างสูงคือคุณสมเกียรติ เจริญผล ที่เป็นธุระให้กับผู้เขียนในทุกๆเรื่องที่ผ่านมา หากมีสิ่งใดผิดพลาดผู้เขียนขอรับผิดแต่เพียงผู้เดียวและขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย ท้ายที่สุดนี้ขอขอบคุณ คุณสมเกียรติ บุญเสรฐ(เวกัส) และคุณวรัชญ์ แง้เจริญกุล(โกแจ็ค ละแม) ที่ได้ให้ภาพมาเผยแพร่

เหรียญหลวงพ่อทวด วัดช้างไห้ รุ่น 3 มีทั้งหมดกี่พิมพ์กันแน่!!!

ขอขอบคุณ : ภาพและข้อมูลจาก คุณ แพะ สงขลา